หลักสูตร ปวช.

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562
  • เรียน 3 ปี (ปีละ 2 เทอม)
  • ค่าเทอมถูก (เทอมละ 2,700 บาท) ชำระผ่าน ธ.กรุงไทย
  • ห้องเรียนติดแอร์
  • วิทยาลัยฯติดถนนใหญ่ บรรยากาศร่มรื่น มีสนามกีฬาอเนกประสงค์
  • มี 3 สาขาวิชาให้เลือกเรียน ได้แก่
    1. การบัญชี
    2. การตลาด
    3. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 
  1. ชุดสูท (ฟรี)
  2. อุปกรณ์การเรียน (ฟรี)
  3. หนังสือเรียน (ฟรี)
  4. ทัศนศึกษา (ฟรี)
  5. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ฟรี)
  6. อินเตอร์เน็ต High Speed Internet (Free Wifi)

เวลาเรียน

  • มี 3 ระบบเวลาให้เลือก คือ
    • รอบปกติ /รอบเช้า    = 5 วัน  (จันทร์ -ศุกร์)
    • รอบพิเศษ/รอบบ่าย  = (ติดต่อวิทยาลัยฯ)
    • รอบคำ่ = (ติดต่อวิทยาลัยฯ)

8 ทักษะที่เด็กอาชีวะยุคดิจิทัลต้องมี
1. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้
2. คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
3. ทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ
4. มีทักษะในการสื่อสารทั่วไปและสื่อสารเพื่ออาชีพ รวมถึงรู้เท่าทันสื่อ
5. มีความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
6. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
7. มีทักษะทางอาชีพ และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ
8. มีคุณธรรม มีเมตตากรุณา มีระเบียบวินัย

คุณลักษณะอาชีพสาขาวิชา “การบัญชี”

การเรียนการสอน

  • มีทักษะในการปฏิบัติงานบัญชีของกิจการประเภทธุรกิจบริการ บัญชีของกิจการประเภทธุรกิจซื้อขาย สินค้าบัญชีของกิจการประเภทธุรกิจอุตสาหกรรม
  • เข้าใจหลักการและกระบวนการการปฏิบัติงานบัญชีที่ใช้ในการควบคุมและตรวจสอบงานบัญชีของกิจการ
  • มีทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานบัญชีของกิจการพิเศษลักษณะต่าง ๆ พร้อมทั้งการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการบัญชี
  • ปฏิบัติงานบัญชีเพื่อการชำระภาษีของกิจการและกระบวนการการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • สื่อสารโดยใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ
ประเภทวิชา : พาณิชยกรรม
สาขาวิชา : พณิชยการ
สาขางาน : การบัญชี
        ในปัจจุบันสาขางานการบัญชีเป็นสาขาที่เรียนจบแล้วมีงานรองรับอย่างแน่นอนโดยนักบัญชีเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญและมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก กล่าวคือบริษัทจำนวนมากมีความต้องการนักบัญชีเพื่อช่วยในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายและผู้ประกอบอาชีพหลากหลายอาชีพมักได้ทักษะทางบัญชีติดตัวมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องคำนวณกำไรขาดทุนหรือคิดเงินทอนเป็นประจำทุกวันจึงอาจกล่าวได้ว่านักบัญชีเป็นอาชีพที่สามารถพบเห็นได้ทุกยุคทุกสมัยและแนวโน้มความต้องการนักบัญชีของบริษัทต่างๆ คงมีไปอีกกว่าร้อยปี
        * นักบัญชีเป็นหนึ่งในสิบอาชีพที่นายจ้างต้องการมากที่สุดยาวนานมาหลายปี(มักติดอันดับหนึ่งในสามเสมอ)
        โอกาสและแนวโน้มในการประกอบอาชีพ
        การเรียนสาขางานการบัญชีเมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้ ดังนี้
        1. ผู้ตรวจสอบบัญชี
        2. สมุห์บัญชี
        3. เจ้าหน้าที่การเงิน
        4. เจ้าหน้าที่การตลาด
        5. ผู้ตรวจสอบภาษีอากร
        6. ข้าราชการกรมบัญชีกลาง
        7. ข้าราชการกรมสรรพากร
        8. ข้าราชการสำนักงบประมาณ
        9. ครู
      10. เจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว
      11. อาชีพอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัจจัยอื่นๆ
        * อย่างไรก็ตามควรคำนึงไว้เสมอว่า “เรียนจบสาขาไหนก็มีโอกาสในการประกอบอาชีพเท่าเทียมกันถ้าบุคคลนั้นไม่เลือกงาน”

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้


คุณลักษณะอาชีพสาขาวิชา “การตลาด”

การเรียนการสอน

ทฤษฏีใหม่และเทคโนโลยีใหม่ทางด้านการขาย การจัดแสดงสินค้า การส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้าการวางแผน คิดเป็น ทำเป็น จัดการเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงทางการตลาดการขาย เรียนรู้ด้วยการศึกษาดูงานในสถานประกอบการ และเชิญวิทยากรจากธุรกิจต่าง ๆ มาให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจและปฏิบัติตามแผนได้ ฝึกการแก้ปัญหาทางธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดการขาย ปูพื้นฐานทางด้านการค้าและการทำธุรกิจ พร้อมทั้งฝึกการเป็นผู้ประกอบการ ฝึกทักษะการพูด การพัฒนาบุคลิกภาพ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง โดยต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ระหว่างการศึกษามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้ รวมทั้งปลูกฝังให้เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการประกอบอาชีพและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

ประเภทวิชา : พาณิชยกรรม
สาขาวิชา : พณิชยการ
สาขางาน : การตลาด
        ในปัจจุบันนักการตลาดที่มีความรู้ความสามารถยังเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนมีความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเอกชนต้องการนักการตลาดที่มีความสามารถเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจส่วนตัวบางธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความสามารถของนักการตลาดเข้ามาช่วยดำเนินการหรือช่วยแสวงหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ รวมถึงนำแนวคิดมาใช้ในโลกของความเป็นจริงเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของผู้บริโภค
        * นักการตลาดเป็นหนึ่งในอาชีพที่นายจ้างมีความต้องการไม่แพ้อาชีพอื่นๆ และแนวโน้มเมื่อเรียนจบแล้วได้งานก็ไม่น้อยหน้าการเรียนสาขาอื่นเช่นกัน
        โอกาสและแนวโน้มในการประกอบอาชีพ
        การเรียนสาขางานการตลาดเมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้ ดังนี้
        1. นักวิเคราะห์การตลาด
        2. เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์
        3. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการตลาด
        4. ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์
        5. ตัวแทนขายสินค้า
        6. ขายสินค้าและบริการออนไลน์
        7. นักลงทุน
        8. ผู้จัดการ
        9. ครู
      10. เจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว
      11. อาชีพอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัจจัยอื่นๆ
        * อย่างไรก็ตามควรคำนึงไว้เสมอว่า “เรียนจบสาขาไหนก็มีโอกาสในการประกอบอาชีพเท่าเทียมกันถ้าบุคคลนั้นไม่เลือกงาน”

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้


คุณลักษณะอาชีพสาขาวิชา “คอมพิวเตอร์ธุรกิจ”

การเรียนการสอน

  • เข้าใจระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
  • จัดการและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์
  • เขียนโปรแกรมขนาดเล็ก
  • ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
  • ใช้ระบบเครือข่ายในการปฏิบัติงาน
  • การสร้างเว็บเพจ
ประเภทวิชา : พาณิชยกรรม
สาขาวิชา : พณิชยการ
สาขางาน : คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
        ในปัจจุบันสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสาขาซึ่งมีแนวโน้มที่จะเติบโตในตลาดแรงงานเพราะในทุกยุคทุกสมัยมักจะมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลให้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ถึงแม้ว่าปัจจุบันผู้คนมีความใกล้ชิดเทคโนโลยีกันมากขึ้นทำให้คนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนทางด้านนี้ก็คุ้นเคยกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่นโปรแกรมสำนักงานเป็นอย่างดีแต่ข้อได้เปรียบของผู้ที่เรียนสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจคือมีความรู้ในโปรแกรมที่หลากหลายที่นอกเหนือจากโปรแกรมสำนักงาน เช่น การสร้างเว็บไซต์ การสร้างภาพกราฟิกต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่เรียนสาขานี้ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายรวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ และอาการเสียอีกด้วย
        * ในปัจจุบันนักคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบกับนักคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเขียนโปรแกรมที่ใช้งานบนมือถือได้ย่อมมีแนวโน้มที่จะก้าวหน้าในอนาคตอันใกล้มากกว่าผู้คนที่ใช้ได้เฉพาะโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป
        โอกาสและแนวโน้มในการประกอบอาชีพ
        การเรียนสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจเมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้ ดังนี้
        1. เจ้าหน้าที่ธุรการคอมพิวเตอร์
        2. เจ้าของเว็บไซต์, ผู้ดูแลเว็บไซต์, รับจ้างเขียนเว็บไซต์
        3. เจ้าหน้าที่คีย์ข้อมูล
        4. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
        5. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
        6. ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์
        7. รับจ้างเขียนบทความ, รับจ้างพิมพ์เอกสารต่างๆ
        8. ธุรกิจโฆษณาและเครือข่ายต่างๆ เช่น Paypal Payza Bitcoin Youtuber เป็นต้น
        9. ครู
      10. เจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว
      11. อาชีพอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัจจัยอื่นๆ
        * อย่างไรก็ตามควรคำนึงไว้เสมอว่า “เรียนจบสาขาไหนก็มีโอกาสในการประกอบอาชีพเท่าเทียมกันถ้าบุคคลนั้นไม่เลือกงาน”

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้

      ที่มา :  กลุ่มมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน  สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ