วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์อ่อนนุชบริหาร (พัฒน์แบค)
Wangdek Pat Onnut Management Technological College
- ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสายสามัญ วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และอาชีวศึกษาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
- ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงชื่อ “โรงเรียนวังเด็กพัฒนา” เป็น “โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 (ใบอนุญาตเลขที่ กส 2103/2549) และ ในปี 2555 ได้เปลี่ยนเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์บริหารธุรกิจ” (2560) ได้เปลียนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร โดยปัจจุบัน (ล่าสุด) ได้เปลี่ยนเป็น ” วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์อ่อนนุชบริหาร “ หรือ พัฒน์แบค
- สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- ที่ตั้ง เลขที่ 458 ปากซอยอ่อนนุช 88/4 ถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10250
- E-mail : patbaccollege@hotmail.com
- Website: http://www.patbac.net
- Faccebook : patbaccollge
- ตั้งอยู่ ใกล้ซอย โรงพยาบาลสิรินธร
- โทรศัพท์ 02-3291354, 02-7277060 (ระดับสามัญ อนุบาล – มัธยมต้น)
- โทรศัพท์ 02-3291358, 086-8936022 (ระดับอาชีวศึกษา ปวช.- ปวส.)
- โทรสาร 02-3291355
GoogleMap แผนที่พัฒน์แบค
ประวัติสถานศึกษา
เริ่มแรกใช้ชื่อว่า โรงเรียนวังเด็ก (“วังเด็ก”มีความหมายว่า เด็กชั้นดีมาจากตระกูลสูง) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 เปิดสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา และในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการให้เช่าบริหารโรงเรียนจนถึง ปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นการบริหารวิทยาลัยได้คืนกลับเจ้าของเดิมโดยใช้ชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนวังเด็กพัฒนา”
โรงเรียนวังเด็กพัฒนาได้รับอนุญาต ตามใบอนุญาตราชการที่ กส.93/2551 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ให้เพิ่มและขยายหลักสูตรสายสามัญศึกษา และหลักสูตรอาชีวศึกษา ระดับ ปวช. ปวส. พาณิชยกรรม และบริหารธุรกิจ ในโรงเรียนเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ” เรียกชื่อว่า “พัฒน์แบค” (PATBAC) ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งที่สองในประเทศไทย ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรทั้งสายสามัญ และสายอาชีวศึกษาในโรงเรียนเดียวกันในขณะนั้น (โรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีทั้งสายสามัญ และสายอาชีวศึกษา คือ วิทยาลัยจิตรลดา ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังสวนจิตรลดา)
โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 9 ไร่ ติดริมถนนอ่อนนุช –ลาดกระบังตีราคาที่ดินและตัวตึกประมาณ ห้าร้อยล้านบาท (ที่ดินตารางวาละ 100,000 บาท ไร่ละ 40 ล้านบาท 10 ไร่ เป็น เงิน 400 ล้านบาท รวมราคาตัวตึก และอุปกรณ์การเรียน – การสอน อีกกว่า 100 ล้านบาทเศษวิทยาลัยจึงมีทรัพย์สินตีราคาได้มากกว่า 500 ล้านบาท ) โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ มีตึก จำนวน 4 ตึก มีจำนวน 49 ห้อง รับนักเรียน นักศึกษา ได้รอบละประมาณ 2,500 คน รวม 2 รอบ รวม 5,000 คน ติดเครื่องปรับอากาศทุกห้อง โรงเรียนพัฒน์แบคจึงพร้อมที่จะต่อยอดเป็น ปริญญาตรีในชื่อของพัฒน์แบค เองได้ในอนาคตอันใกล้ ในปี 2555 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์บริหารธุรกิจ”และปี พ.ศ. 2560 ได้เปลี่ยนเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร” ปัจจุบัน (ล่าสุด) ได้เปลี่ยนเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์อ่อนนุชบริหาร” โดยขณะนี้เปิดสอนระดับ ปวช. และ ปวส. โดยมีสาขางานต่อไปนี้
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรพุทธศักราช 2562
รอบเช้า – รอบบ่าย
ปวช.62 พาณิชยกรรม 20201 – การบัญชี 2020101 – การบัญชี
ปวช.62 พาณิชยกรรม 20202 – การตลาด 2020201 – การตลาด
ปวช.62 พาณิชยกรรม 20204 – คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2020401 – คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
…………………
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตรพุทธศักราช 2563
รอบเช้า – รอบบ่าย
ปวส.63 บริหารธุรกิจ 30202 – การตลาด 3020201 – การตลาด
ปวส.63 บริหารธุรกิจ 30204 – เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 3020401 – ธุรกิจดิจิทัล
ปวส.63 บริหารธุรกิจ 30215 – การจัดการ 3021501 – การจัดการ
ปวส.63 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 30702 – การท่องเที่ยว 3070201 – การท่องเที่ยว
……………..
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรพุทธศักราช 2567
รอบเช้า – รอบบ่าย
ปวช.67 บริหารธุรกิจ 20201 – การบัญชี 2020101 – การบัญชี
ปวช.67 บริหารธุรกิจ 20202 – การตลาด 2020201 – การตลาด
ปวช.67 อุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ 21910 – เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 2191001 – เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
…………………
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตรพุทธศักราช 2567
รอบเช้า – รอบบ่าย
ปวส.67 บริหารธุรกิจ 30202 – การตลาด 3020201 – การตลาด
ปวส.67 บริหารธุรกิจ 30215 – การจัดการธุรกิจ 3021501 – การจัดการธุรกิจ
ปวส.67 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 30702 – การท่องเที่ยว 3070201 – การท่องเที่ยว
ปวส.67 อุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ 31910 – เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 3191001 – เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
บริหารงานโดย
- อาจารย์ ดร.พฤฒิไกร ไกรพิพัฒน์
- ตำแหน่ง
- ผู้รับใบอนุญาต และ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์บริหารธุรกิจ
- ผู้รับใบอนุญาต และ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร
- ประธานมูลนิธิ “ไกรพิพัฒน์” เพื่อการศึกษา
ตราสัญลักษณ์ปัจจุบันของสถานศึกษา
ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา
ปรัชญา
“เพื่อสร้างนักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้เพียงพอเป็นที่พึ่งของตนเอง พ่อ แม่ และประเทศชาติได้”
วิสัยทัศน์
“วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์อ่อนนุชบริหาร มุ่งเน้นการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพที่สูงยิ่งขึ้น นักเรียน นักศึกษามีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีงานทำ สร้างงานให้กับตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมการทำงานอย่างมีความสุข”
เอกลักษณ์
“ สร้างคนดี มีอาชีพ รักการออม ”
คุณธรรมอัตลักษณ์
” รับผิดชอบดี มีวินัย ร่วมใจสามัคคี ”
พันธกิจ
- ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านธุรกิจและบริการให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และขยายโอกาสทางการศึกษา
- ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์และงานวิจัย
- จัดและส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพด้านธุรกิจและคอมพิวเตอร์
- พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์
- ผู้เรียนอาชีวศึกษามีคุณภาพ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อยำงมีความสุข
- บุคลากรมีความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- สถานศึกษาจัดการศึกษา สอดคล๎องกับความต้องการของชุมชนและการเปลี่ยนแปลง
- ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และงานวิจัย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่สู่สาธารณชน
- สถานศึกษาจัดกิจกรรมบริการชุมชน บริการวิชาการ บริการวิชาชีพและกิจกรรมจิตอาสา
- สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโปร่งใส ตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู๎ ทักษะวิชาชีพ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- เสริมสร้างศักยภาพครูและมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
- สนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษากับเครือขำยความร่วมมือ
- พัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้พัฒนาชุมชนสังคม และประเทศชาติ
- ส่งเสริมการจัดกิจกรรมบริการชุมชน บริการวิชาการบริการวิชาชีพ และกิจกรรมจิตอาสา
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู๎ทักษะวิชาชีพ และสามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
- ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษา
- พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอยำงเป็นระบบ
- ระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการอาชีวศึกษา
- เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย
- ให้บริการวิชาการบริการวิชาชีพ และบริการจิตอาสาสู่สังคม
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู๎
- พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอยำงต่อเนื่อง
แผนพัฒนาสถานศึกษา
- เพิ่มการอบรม สัมมนา ประมวลแผนปฏิบัติงาน
- ส่งเสริม และติดตามการแนะแนวการศึกษาต่อ แก่นักเรียน ม. 3 และ ม. 6 ของวิทยาลัยใกล้เคียง
- วางกรอบและแนวความคิดที่เป็นรูปธรรม
- เตรียมการเพื่อให้หลักสูตรที่เปิดสอน สามารถเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพได้
- ขยายหลักสูตรที่เป็นอาชีพอิสระให้แก่นักเรียน/นักศึกษา