วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร (พัฒน์แบค)
- ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสายสามัญ วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และอาชีวศึกษาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
- ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงชื่อ “โรงเรียนวังเด็กพัฒนา” เป็น “โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2549 (ใบอนุญาตเลขที่ กส 2103/2549) และ “วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์บริหารธุรกิจ” ในปี 2555 และปัจจุบัน (2560) ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร”
- ตั้งอยู่เลขที่ 458 ซ.อ่อนนุช 88/4 ถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10250
- โทรศัพท์ 02-3291358 โทรสาร 02-3291355
- E-mail Address: patbaccollege@hotmail.com
- Website: http://www.patbac.net/2017
- ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด กรุงเทพมหานคร เขตที่ 2 (เขตประเวศ)
- สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติสถานศึกษา
เริ่มแรกใช้ชื่อว่า โรงเรียนวังเด็ก (“วังเด็ก”มีความหมายว่า เด็กชั้นดีมาจากตระกูลสูง) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 เปิดสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา และในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการให้เช่าบริหารโรงเรียนจนถึง ปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นการบริหารวิทยาลัยได้คืนกลับเจ้าของเดิมโดยใช้ชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนวังเด็กพัฒนา”
โรงเรียนวังเด็กพัฒนาได้รับอนุญาต ตามใบอนุญาตราชการที่ กส.93/2551 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ให้เพิ่มและขยายหลักสูตรสายสามัญศึกษา และหลักสูตรอาชีวศึกษา ระดับ ปวช. ปวส. พาณิชยกรรม และบริหารธุรกิจ ในโรงเรียนเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ” เรียกชื่อว่า “พัฒน์แบค” (PATBAC) ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งที่สองในประเทศไทย ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรทั้งสายสามัญ และสายอาชีวศึกษาในโรงเรียนเดียวกันในขณะนั้น (โรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีทั้งสายสามัญ และสายอาชีวศึกษา คือ วิทยาลัยจิตรลดา ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังสวนจิตรลดา)
โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 9 ไร่ ติดริมถนนอ่อนนุช –ลาดกระบังตีราคาที่ดินและตัวตึกประมาณ ห้าร้อยล้านบาท (ที่ดินตารางวาละ 100,000 บาท ไร่ละ 40 ล้านบาท 10 ไร่ เป็น เงิน 400 ล้านบาท รวมราคาตัวตึก และอุปกรณ์การเรียน – การสอน อีกกว่า 100 ล้านบาทเศษวิทยาลัยจึงมีทรัพย์สินตีราคาได้มากกว่า 500 ล้านบาท ) โรงเรียนวังเด็กพัฒนาและพัฒน์บริหารธุรกิจ มีตึก จำนวน 4 ตึก มีจำนวน 49 ห้อง รับนักเรียน นักศึกษา ได้รอบละประมาณ 2,500 คน รวม 2 รอบ รวม 5,000 คน ติดเครื่องปรับอากาศทุกห้อง โรงเรียนพัฒน์แบคจึงพร้อมที่จะต่อยอดเป็น ปริญญาตรีในชื่อของพัฒน์แบค เองได้ในอนาคตอันใกล้ ในปี 2555 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีวังเด็กพัฒน์บริหารธุรกิจ” และปัจจุบัน (2560) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร” โดยขณะนี้เปิดสอนระดับ ปวช. และ ปวส. โดยมีสาขางานต่อไปนี้
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ประเภทวิชา พาณิชยกรรม สาขาวิชา พณิชยการ จำนวน 3 สาขางาน ได้แก่
- สาขางานการบัญชี
- สาขางานการตลาด
- สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
- ประเภทวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
- การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว (มัคคุเทศก์)
บริหารงานโดย
อาจารย์ ดร.พฤฒิไกร ไกรพิพัฒน์
ผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการ ประธานมูลนิธิ “ไกรพิพัฒน์” เพื่อการศึกษา
ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา
ปรัชญา
“เพื่อสร้างนักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้เพียงพอเป็นที่พึ่งของตนเอง พ่อ แม่ และประเทศชาติได้”
วิสัยทัศน์
- จัดหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ปลอดจากโรคภัยและสิ่งเสพติด ดำรงตนอยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข
- จัดกระบวนการเรียน การสอน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ และเจตคติที่ดี (สร้างปัญญาและทักษะในการ ดำเนินชีวิต) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
- คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ รวมทั้งมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- จัดการเรียน การสอน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และมีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึง-ประสงค์ สืบสานวัฒนธรรมไทย มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในวิทยาลัย ให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
- ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาการเรียนรู้ด้าน เทคโนโลยี การใช้ภาษาไทย และทักษะในภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสาร
- พัฒนาครู-อาจารย์ และบุคลากรอื่น ให้มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้เข้าสู่ระบบประกัน คุณภาพการศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ
เอกลักษณ์ “ศึกษาดี มีวินัย ไม่ตกงาน”
อัตลักษณ์ “ใฝ่รู้ กล้าคิด สร้างสรรค์ งานวิชาชีพ”
ภารกิจ-พันธกิจ (Mission)
- ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ผู้เรียนทุกคน
- พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาและจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน และตลาดแรงงาน
- พัฒนาการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพได้มาตรฐานวิชาชีพ
- ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี สื่อวัสดุ อุปกรณ์มาใช้จัดการเรียนการสอน
- พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาสู่ครูมืออาชีพ
- พัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมภายในวิทยาลัยให้เหมาะสมและเสริมสร้างการเรียนรู้
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ และการมีส่วนร่วม
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรต่างๆ และศิษย์เก่าในการพัฒนาการศึกษา
เป้าหมาย (Goals)
- นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
- นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน และตลาดแรงงาน
- สถานศึกษามีการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจต่อผลการบริหารงานและการพัฒนาผู้เรียน
- สถานศึกษามีและใช้สื่อนวัตกรรม ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเพียงพอ
- ครู และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
- สถานศึกษามีบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- สถานศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
- สถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรต่างๆ และศิษย์เก่าร่วมกันพัฒนาการศึกษา
เป้าหมายของสถานศึกษา
- ส่งเสริมให้นักเรียน/นักศึกษาปฏิบัติในเป็นรูปธรรมมากกว่าทฤษฏีที่เป็นนามธรรม
- ร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อกำหนดเกณฑ์และประเภทของงาน เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษามีโอกาสได้งานมากขึ้น
- ผลิตนักเรียน/นักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะทำงาน และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมืออาชีพได้
แผนพัฒนาสถานศึกษา
- เพิ่มการอบรม สัมมนา ประมวลแผนปฏิบัติงาน
- ส่งเสริม และติดตามการแนะแนวการศึกษาต่อ แก่นักเรียน ม. 3 และ ม. 6 ของวิทยาลัยใกล้เคียง
- วางกรอบและแนวความคิดที่เป็นรูปธรรม
- เตรียมการเพื่อให้หลักสูตรที่เปิดสอน สามารถเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพได้
- ขยายหลักสูตรที่เป็นอาชีพอิสระให้แก่นักเรียน/นักศึกษา