ประกันคุณภาพภายใน

แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561
 (ปรับปรุง 8 ส.ค. 62) 01
คู่มือการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
(Self Assessment Report : SAR)
 (ปรับปรุง 8 ส.ค. 62) 01

 

 

 

 

 

(เริ่มใช้ปีการศึกษา 2566)

แสดงข้อมูลมาตรฐาน 3 มาตรฐาน 9 ด้าน 33 ภารกิจ
มาตรฐาน ด้าน ภารกิจ
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์
ด้านความรู้ 1.1.1 การพัฒนาสมรรถนะผู้สําเร็จการศึกษาในหมวดวิชา สมรรถนะแกนกลาง
1.1.2 การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
1.1.3 การทดสอบหรือประเมินสมรรถนะบุคคล ของผู้สําเร็จการศึกษาตามมาตรฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)
ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ 1.2.1 การพัฒนาสมรรถนะผู้สําเร็จการศึกษาในหมวดวิชา สมรรถนะอาชีพ
1.2.2 การประกวดหรือแข่งขันทักษะวิชาชีพ
1.2.3 สมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือประกอบ อาชีพอิสระ
1.2.4 การทดสอบหรือประเมิน สมรรถนะบุคคล ของผู้สําเร็จการศึกษาตามมาตรฐานอาชีพ
1.2.5 การมีงานทําและศึกษาต่อของผู้สําเร็จการศึกษา
1.2.6 ความพึงพอใจของหน่วยงาน สถานประกอบการ หรือ ผู้ใช้ต่อคุณภาพของผู้สําเร็จการศึกษา
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1.3.1 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของผู้สําเร็จการศึกษา
1.3.2 การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สําเร็จ การศึกษา
1.3.3 การดูแลช่วยเหลือและแนะแนวผู้สําเร็จการศึกษา
มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา
ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา 2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ
2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยการปรับปรุง รายวิชาเดิม หรือกําหนดรายวิชาเพิ่มเติม
ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา 2.2.1 การพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญ
2.2.2 การนําแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญไป ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.2.3 การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์สมรรถนะ วิชาชีพหรือฝึกอาชีพ
2.2.4 การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนที่ หลากหลาย
2.2.5 การบริหารจัดการชั้นเรียนที่เหมาะสม
2.2.6 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
2.2.7 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ด้านการบริหารจัดการ 2.3.1 การบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
2.3.2 การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2.3.3 การบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการ บริหารจัดการสถานศึกษา
2.3.4 การพัฒนาอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรง ฝึกงาน หรืองานฟาร์ม
2.3.5 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
2.3.6 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ
2.3.7 การนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการ พัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ด้านการนํานโยบายสู่การปฏิบัติ 2.4.1 การบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายที่หน่วยงานต้นสังกัดมอบหมาย
มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3.1.1 การบริการชุมชนและจิตอาสา
3.1.2 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
3.1.3 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ 3.2.1 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย โดยการ มีส่วนร่วมของครู ผู้เรียน หรือบุคคล ชุมชน และ องค์กรต่าง ๆ

********************************************************************************************

การประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

1) หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา 01 (ปรับปรุง 30 ส.ค. 61)
2) กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561
3) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.2561
4) แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัย
5) แนวทางการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง

เอกสารประกอบการบรรยาย ดร.ก้านทิพย์ ชาติวงศ์ วันที่ 3 สิงหาคม 2561

การเปรียบเทียบมาตรฐานการอาชีวศึกษาฯ พ.ศ. 2559 และมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561

– ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559

– ประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๙



มาตรฐานการอาชีวศึกษา 2559

มาตรฐานการอาชีวศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพและมาตรฐาน    ในการจัดการอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งเสริม การกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา

มาตรฐานที่ 1 ด้านผลการจัดการศึกษา
            ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ตามอัตลักษณ์ ของสถานศึกษาคุณธรรม มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของหลักสูตรในแต่ละระดับและแต่ละสาขาวิชา สาขางาน เป็นที่พึงพอใจของตลาดแรงงาน และมีสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาเทียบกับผู้เรียนแรกเข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ระดับความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเทียบกับจำนวนผู้เข้าเรียน

มาตรฐานที่ 2 ด้านการบริหารจัดการศึกษา 

            สถานศึกษามีการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีการบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน สมาคม ชมรม สถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ คือ
            ตัวบ่งชี้ที่ 2.1    ระดับคุณภาพในการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม
            ตัวบ่งชี้ที่ 2.2    ระดับคุณภาพในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัด
            ตัวบ่งชี้ที่ 2.3    ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านบุคลากร
            ตัวบ่งชี้ที่ 2.4    ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านการเงิน
            ตัวบ่งชี้ที่ 2.5    ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ ด้านครุภัณฑ์ และด้านฐานข้อมูล สารสนเทศ
            ตัวบ่งชี้ที่ 2.6    ระดับคุณภาพในการประสานความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

            สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ ตามหลักสูตรและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนของแต่ละหลักสูตร ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ให้ครูจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ มีการพัฒนารายวิชา หรือกำหนดรายวิชาใหม่หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ คือ
            ตัวบ่งชี้ที่ 3.1    ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา
            ตัวบ่งชี้ที่ 3.2    ระดับคุณภาพในการพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชา
            ตัวบ่งชี้ที่ 3.3    ระดับคุณภาพในการจัดการศึกษา
            ตัวบ่งชี้ที่ 3.4    ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

มาตรฐานที่ 4 ด้านการประกันคุณภาพภายใน 

            สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาประกอบด้วยการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระดับคุณภาพในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่มีการพัฒนา

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  เป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับ ดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด   เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อมูลหลักฐาน ที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  และมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓)

  ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance System)

สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓) ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔   ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด ประกอบด้วย

  • การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและแผนพัฒนา
  • การพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด
  • การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดทำแผนอย่างเป็นระบบพื้นฐานของข้อมูลสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตจามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา
    5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา  จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
    6) การประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยค ได้แก่ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วมโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน จากหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
    7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี  เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกมใประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษาซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
    8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา  เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ

หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

1)  สถานศึกษาจะต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบกระกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2) สถานศึกษาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
2.1 กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.2 กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.3 เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

3) สถานศึกษาจะต้องจัดระบบสารสนเทศที่มาข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
4) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) สถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมในเรื่อง ต่อไปนี้
5.1 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
5.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
5.3 กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชาหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างถึงให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
5.4 กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
5.5 กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผูเรียน รับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ
5.6 กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
5.7 กำหนดการจัดงบประมาณและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6) สถานศึกษาจะต้องดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
7) ให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  สำหรับในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม (การสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบวัดมาตรฐาน)  การตรวจสอบและทบทวนคูณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
9) สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแบบพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ (8) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
10) หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงานตามระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดังนี้
10.1 จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
10.2 จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปี/รายภาค
10.3 จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
11) หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้การตรวจสอบและทบทวนให้เป็นไปตามข้อ (7) โดยอนุโลม
12) หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้วย


ขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา

การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)

  1. ศึกษาและเตรียมการ
  • ตั้งคณะทำงานประกัน
  • ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกมนุษย์
  • ตั้งคระทำงานฝ่ายต่าง ๆ
  1. วางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
  • กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  • สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
  • จัดทำสารสนเทศสภาพปัจจุบัน (ข้อมูลพื้นฐาน)
  • จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีตามแผนยุทธศาสตร์ในธรรมนูญสถานศึกษา
  • จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา
  • ประเมินสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาตามมาตรฐาน
  • จัดทำธรรมนูญสถานศึกษาหรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
  1. ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามแผน
  • ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และตามแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
  • นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 

การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ    (Quality Audit)

  1. ตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  • แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ
  • กำหนดระยะเวลาและแนวทางการตรวจสอบ
  • ประเมินสภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษาครั้งที่ 2 หลังจากปฏิบัติงานไปได้ระยะเวลาหนึ่ง
  • จัดทำสารสนเทศแสดงผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  1. พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  • ปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  • ติดตาม ตรวจสอบการแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสถานศึกษา
  • สรุปผลการตรวจสอบ จัดทำสารสนเทศ(ข้อมูลพื้นฐาน) ครั้งที่ 2 และรายงานการตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  • พัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

การประเมิน (Quality Assessment)และรับรองคุณภาพ  (Quality Accreditation)

  1. เตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา
  • จัดเตรียมหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
  • ถ้าได้รับการรับรอง และได้ใบรับรอง สถานศึกษารักษามาตรฐานคุณภาพให้คงไว้และรายงานผลการประเมิน
  • ถ้ายังไม่ได้รับการรับรอง สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไข และขอรับการประเมินใหม่ ตามเวลาที่กำหนด

แนวการดำเนินการตามขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา

การควบคุมคุณภาพการศึกษา  (Quality Control)

  1. การศึกษา และเตรียมการ มีแนวการดำเนินการ ดังนี้

1.1 ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ …

1)  ศึกษาแนวคิด รูปแบบ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา

2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยกำหนดรูปแบบที่สถานศึกษาสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) จัดทำสื่อ เอกสาร คู่มือ และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

1.2 ให้การศึกษาแก่ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อ…

1) สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษ